1. ฮอโลทรอฟิก (holotrophic) หรือ ฮอโลโซอิก (holozoic) กินอาหารที่มีโลเลกุลใหญ่และซับซ้อน แล้วยังมีการบดให้ละเอียดและย่อยสลาย การย่อยนั้นต้องใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเป็นตัวสลาย
2. แซโพรทรอฟิก (saprotrophic) เป็นการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารพวกสารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว หรือเศษอินทรีย์
อาหาร + น้ำย่อย -------> อาหารที่ย่อยได้(ดูดซึม) + อาหารที่ย่อยไม่ได้(ขับถ่ายไปกากอาหาร
1.อาหารและการย่อยอาหาร
โภชนาการหรือโภชนศาสตร์ (nutrition) เป็นวิชาทีว่าด้วยความสังพันธ์ของสารอาหารที่มีต่องสิ่งมีชีวิตซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพและร่างกายของสิ่งมีชีวิตด้วย
อาหาร (food) คือ สิ่งที่มนุษย์กินหรือดื่มเข้าไปแล้ว ทำให้เกิด...
1. ให้พลังงาน
2. การเจริญเติบโตตลอดจนการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
3. การควบคุมระบบความสมดุลและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
สารอาหาร (nutrients) คือสารประกอบที่มีอยู่ในอาหารสารอาหารเหล่านี้ จะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ใน 3 ลักษณะที่กล่าวมา มี 6 ชนิด
1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)
2. ไขมัน (lipid)
3. โปรตีน (protein)
4. วิตามิน (vitamins)
5. เกลือแร่ (mineral sals)
6. น้ำ (water)
อาหารหลัก 5 หมู่
หมู่ที่ 1 อาหารประเภทโปรตีน
หมู่ที่ 2 อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
หมู่ที่ 3 อาหารประเภทพืช ผักต่างๆ à ซึ่งให้วิตามิน และเกลือแร่เป็นส่วนสำคัญ
หมู่ที่ 4 อาหารประเภทผลไม้ต่างๆ à ซึ่งให้ น้ำตาล วิตามิน และเกลือแร่เป็นส่วนสำคัญ
หมู่ที่ 5 อาหารประเภทไขมัน
โภชนาการหรือโภชนศาสตร์ (nutrition) เป็นวิชาทีว่าด้วยความสังพันธ์ของสารอาหารที่มีต่องสิ่งมีชีวิตซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพและร่างกายของสิ่งมีชีวิตด้วย
อาหาร (food) คือ สิ่งที่มนุษย์กินหรือดื่มเข้าไปแล้ว ทำให้เกิด...
1. ให้พลังงาน
2. การเจริญเติบโตตลอดจนการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
3. การควบคุมระบบความสมดุลและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
สารอาหาร (nutrients) คือสารประกอบที่มีอยู่ในอาหารสารอาหารเหล่านี้ จะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ใน 3 ลักษณะที่กล่าวมา มี 6 ชนิด
1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)
2. ไขมัน (lipid)
3. โปรตีน (protein)
4. วิตามิน (vitamins)
5. เกลือแร่ (mineral sals)
6. น้ำ (water)
อาหารหลัก 5 หมู่
หมู่ที่ 1 อาหารประเภทโปรตีน
หมู่ที่ 2 อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
หมู่ที่ 3 อาหารประเภทพืช ผักต่างๆ à ซึ่งให้วิตามิน และเกลือแร่เป็นส่วนสำคัญ
หมู่ที่ 4 อาหารประเภทผลไม้ต่างๆ à ซึ่งให้ น้ำตาล วิตามิน และเกลือแร่เป็นส่วนสำคัญ
หมู่ที่ 5 อาหารประเภทไขมัน
อาหารปรุงสมดุล (balance diet) คือ อาหารปรุง ซึ่งปรุงแต่งให้รับประทานได้โดยประกอบด้วยคุณภาพ และสารอาหารที่ร่างกายต้องการอย่างเพียงพอ
1. ให้พลังงานหรือแคลอรี่เพียงพอ
2. มีโปรตีนซึ่งเป็นส่วนที่ให้พลังงานประกอบอยู่ 10-15 %
3. มีไขมันซึ่งเป็นส่วนที่ให้พลังงานประกอบอยู่ประมาณ 20-25 %
4. มีคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นส่วนที่ให้พลังงานประกอบอยู่ 60-70 %
5. ให้เกลือแร่ และวิตามิน
6. ให้กากอาหาร
1.1การย่อยอาหารของจุลินทรีย์
1.1.1 การย่อยอาหารของแบคทีเรียและรา
การย่อยเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (extracellular digestion) เนื่องจากแบคทีเรียและรา ไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ ต้องส่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกย่อยสารโมเลกุลใหญ่ การย่อยสลายโดยแบคทีเรียและรา จะขึ้นอยู่กับเอนไซม์ของจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ ว่าสามารถย่อยสารใดได้บ้าง ทำให้เกิดความเฉพาะเจาะจง เช่น ยีสต์ มีเอนไซม์ในการย่อยสลายน้ำตาล และไม่มีเอนไซม์ย่อยแป้ง
1.1.1 การย่อยอาหารของแบคทีเรียและรา
การย่อยเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (extracellular digestion) เนื่องจากแบคทีเรียและรา ไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ ต้องส่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกย่อยสารโมเลกุลใหญ่ การย่อยสลายโดยแบคทีเรียและรา จะขึ้นอยู่กับเอนไซม์ของจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ ว่าสามารถย่อยสารใดได้บ้าง ทำให้เกิดความเฉพาะเจาะจง เช่น ยีสต์ มีเอนไซม์ในการย่อยสลายน้ำตาล และไม่มีเอนไซม์ย่อยแป้ง
1.1.2 การย่อยอาหารของโพรโทซัว
โพรโทซัวจัดเป็นโพรทิสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เพราะสร้างอาหารเองไม่ได้ ไม่มีผนังเซลล์ แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่มีระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหาร แต่อาศัยส่วนต่างๆของเซลล์ในการน้ำอาหารเข้าสู่เซลล์ และย่อยภายใน เรียกว่า การย่อยภายในเซลล์ (intracellular digestion) เช่น อะมีบา และพารามีเซียม
· การย่อยอาหารของอะมีบา อะมีบาเคลื่อนที่ด้วยขาเทียม นำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยการยื่นส่วนของขาเทียมออกไปโอบล้อมอาหารแลทำให้อาหารตกเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ อาหารนี้จะเรียกว่า ฟูดแวคิวโอล (food vaceuole) – พบในเซลล์เม็ดเลือดขาว น้ำย่อยของอะมีบาส่วนใหญ่ เป็นกรดเกลือ (HCl)
· การย่อยอาหารของพารามีเซียม พารามีเซียมเคลื่อนที่ด้วยขนเซลล์ (cilia) ขนเซลล์ที่บริเวณร่องปาก (undulating membrane) จะทำหน้าที่ในการโบกพัดให้อาหารตกลงสู่ร่องปาก (oral groove) จนถึงส่วนของคอหอยและถูกสร้างเป็นฟูดแวคิวโอว
อะมีบาและพารามีเซียมมีวิธีการกินอาหารที่แตกต่างกัน คือ อะมีบานำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยวิธีการฟาโกไซโทซีส แต่พารามีเซียมมีขนเซลล์บริเวณร่องปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหาร ซึ่งจะมีความเฉพาะเจาะจงกว่า
· การย่อยอาหารของยูกลีนา ได้อาหารโดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากมีโครมาโทฟอร์ (chromatophroe) รงควัตถุที่มีคลอโรฟีลล์เอและคลอโรฟีลล์บี แล้วยังคงดำรงชีวิตแบบแซโพรไฟต์ได้ด้วย โดยย่อยอาหารที่อยู่รอบๆ แล้วส่งเข้าปาก สรุปได้ว่า ยูกลีนาเป็นทั้งผู้สร้างและผู้บริโภค
1.3 การย่อยอาหารของหนอนตัวแบน
เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (platyhelminthes) จำพวก พลานาเรีย พยาธิใบไม้และพยาธิตัวตืด
1. การย่อยอาหารของพลานาเรีย
อาหารของพลานาเรีย ได้แก่ เนื้อสัตว์ชิ้นเล็กๆ ตัวอ่อนแมลง ไรน้ำ หนอนเล็กๆ ทางเดินอาหารของพลานาเรียมี 3 แฉก ปากอยู่บริเวณกลางลำตัวและมีงวงหรือโพรบอซิส (probosis) ที่ยืดหดได้คอยจังอาหารเข้าสู่ปาก ทางเดินอาหารส่วนหัวมี 1 แฉก และลำตัว มี 2 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแยกแขนงแยกย่อยออกไปอีก เรียกว่า "ไดเวอร์ทิคิเวลัม" (diverticulum) ส่วนกากอาหาร ก็จะถูกส่งออกทางปาดเช่นเดียวกัน
2. การย่อยอาหารของพยาธิใบไม้
ประกอบไปด้วยปากอยู่ทางด้านบนสุดต่อจากปากเป็นคอหอย (pharynx) เป็นกล้ามเนื้อหนา ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้นๆ ต่อกับสำไส้ (intestine) แตกแขนงเป็น 2 แฉกใหญ่ๆ และแตกย่อยๆไปทั่วร่างกาย ไดเวอร์ทิคิวลัม(แขนง)ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยระบบการลำเลียง ส่วนกากอาหารก็ถูกกำจัดออกทางปาก
3. การย่อยอาหารของพยาธิตัวตืด
เป็นสัตว์ที่ไม่มีระบบทางอาหาร ที่ส่วนหัวของพยาธิตัวตืด มีแว่นดูด (sucker) ทำหน้าที่ ดูดเกาะตัวถูกเบียดเบียนหรือโฮสต์ (host) ในพยาธิตัวตืดหมูและพยาธิตัวตืดวัว มีแว่นดูด 4 อัน และยังมี ขอ(hook) ทำหน้าที่เกาะและยึดติดกับผนังลำไส้ของตัวโฮสต์ พยาธิตัวตืดจะเก็บสะสมอาหารในรูปของไกลโคเจน ถ้าพยาธิตัวตืดขาดแคลนอาหารจะนำไกลโคเจนมาใช้ และถ้าหมดจะนำไข่แดงมาใช้ ถ้าหมดก็จะนำอวัยวะสืบพันธุ์มาใช้ ซึ่งทำให้ตัวมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และตายยากมาก
เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (platyhelminthes) จำพวก พลานาเรีย พยาธิใบไม้และพยาธิตัวตืด
1. การย่อยอาหารของพลานาเรีย
อาหารของพลานาเรีย ได้แก่ เนื้อสัตว์ชิ้นเล็กๆ ตัวอ่อนแมลง ไรน้ำ หนอนเล็กๆ ทางเดินอาหารของพลานาเรียมี 3 แฉก ปากอยู่บริเวณกลางลำตัวและมีงวงหรือโพรบอซิส (probosis) ที่ยืดหดได้คอยจังอาหารเข้าสู่ปาก ทางเดินอาหารส่วนหัวมี 1 แฉก และลำตัว มี 2 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแยกแขนงแยกย่อยออกไปอีก เรียกว่า "ไดเวอร์ทิคิเวลัม" (diverticulum) ส่วนกากอาหาร ก็จะถูกส่งออกทางปาดเช่นเดียวกัน
2. การย่อยอาหารของพยาธิใบไม้
ประกอบไปด้วยปากอยู่ทางด้านบนสุดต่อจากปากเป็นคอหอย (pharynx) เป็นกล้ามเนื้อหนา ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้นๆ ต่อกับสำไส้ (intestine) แตกแขนงเป็น 2 แฉกใหญ่ๆ และแตกย่อยๆไปทั่วร่างกาย ไดเวอร์ทิคิวลัม(แขนง)ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยระบบการลำเลียง ส่วนกากอาหารก็ถูกกำจัดออกทางปาก
3. การย่อยอาหารของพยาธิตัวตืด
เป็นสัตว์ที่ไม่มีระบบทางอาหาร ที่ส่วนหัวของพยาธิตัวตืด มีแว่นดูด (sucker) ทำหน้าที่ ดูดเกาะตัวถูกเบียดเบียนหรือโฮสต์ (host) ในพยาธิตัวตืดหมูและพยาธิตัวตืดวัว มีแว่นดูด 4 อัน และยังมี ขอ(hook) ทำหน้าที่เกาะและยึดติดกับผนังลำไส้ของตัวโฮสต์ พยาธิตัวตืดจะเก็บสะสมอาหารในรูปของไกลโคเจน ถ้าพยาธิตัวตืดขาดแคลนอาหารจะนำไกลโคเจนมาใช้ และถ้าหมดจะนำไข่แดงมาใช้ ถ้าหมดก็จะนำอวัยวะสืบพันธุ์มาใช้ ซึ่งทำให้ตัวมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และตายยากมาก